การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 16 draf

The event is expired

(The 16th National Plant Protection Conference)  วันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่

หลักการและเหตุผล
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยในปี 2568 นี้  สมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร   สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ซึ่งมีขึ้นทุก 2 ปี โดยแต่ละสมาคมหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
การจัดประชุมวิชาการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นในกลุ่มนักวิชาการด้านอารักขาพืช และผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อประชากรของประเทศ และของโลก ปัญหาสำคัญของการผลิต คือ ความสูญเสียเนื่องจากการเข้าทำลายของศัตรูพืชทุกชนิด ได้แก่ แมลง โรค วัชพืช สัตว์ศัตรูพืช ซึ่งในการเพิ่มปริมาณการผลิต และการปกป้องผลผลิต จะต้องใช้ความรู้หลายด้าน ทั้งวิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว โดยนำไปดำเนินการป้องกันกำจัดเพื่อควบคุมศัตรูพืช และหรือบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเพิ่มความสามารถของวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อปกป้องผลผลิตและช่วยลดความเสียหาย ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ นอกจากวิธีการควบคุมศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพแล้ว การอารักขาพืชที่ถูกวิธีที่สามารถผลิตอาหารปลอดภัย ตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก และตามมาตรฐานสากล เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงด้วย ปัจจุบันโลกได้เผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาคมโลกในทุกๆด้าน รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสภาพแวดล้อม ทำให้ภาระหน้าที่ของนักวิชาการด้านอารักขาพืชจะต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยมากขึ้น เพื่อให้ได้วิธีการอารักขาพืชที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปราศจากสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

วัตถุประสงค์
เผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาพืช ระดับพื้นฐาน ประยุกต์ และพัฒนา ประกอบด้วยด้านกีฎและสัตววิทยา โรคพืชและจุลชีววิทยา วิทยาการวัชพืช วิศวกรรมเกษตร และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิต และสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงการนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนางานวิจัยต่อไป
แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการทำงานวิจัย เพื่อนำไปเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยด้านการอารักขาพืชให้มีคุณภาพ
รูปแบบการประชุม
การประชุมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ การอภิปราย การประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ การเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยาย และภาคแผ่นภาพ โดยมีการคัดเลือกให้รางวัลสำหรับผลงานวิจัยดีเด่น การประกวดภาพถ่าย การแสดงนิทรรศการ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาพืช ภาพถ่ายที่ชนะการประกวด และทัศนศึกษา

ประโยชน์ที่จะได้รับ
นักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อการพัฒนางานวิจัยให้สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหามากขึ้น
นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ได้ทราบความก้าวหน้าของผลงานวิจัย และเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช สำหรับนำไปปฏิบัติ และนำไปถ่ายทอด หรือส่งเสริมให้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร และผู้ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอารักขาพืช ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน อันนำไปสู่การพัฒนางานด้านอารักขาพืชอย่างยั่งยืน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย  เป็นแกนนำร่วมกับสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร  สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย

ผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นนักวิชาการ นักส่งเสริมการเกษตร สมาชิกสมาคม ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจทั่วไปจากภาครัฐและเอกชน ประมาณ 400 คน

เวลาและสถานที่
วันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2568
ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่

อัตราค่าลงทะเบียน (รวมทัศนศึกษา)
นิสิต นักศึกษา และผู้เกษียณอายุ ลงทะเบียนก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
2,500 บาท
ลงทะเบียนหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
3,000 บาท
นักวิจัย อาจารย์ และบุคคลทั่วไป ลงทะเบียนก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
3,000 บาท
ลงทะเบียนหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
3,500 บาท

หมายเหตุ : ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายได้จากต้นสังกัด ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และไม่ถือเป็นวันลาตามระเบียบของทางราชการเมื่อได้รับอนุมัติจากต้นสังกัด

ช่องทางการลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์

Download ใบลงทะเบียน กรอกข้อมูล แล้วส่งทาง E-mail: ezathai@gmail.com

Tags:
ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
16:00 - 18:00
ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
08:00 - 09:00
พิธีเปิดการประชุมและมอบรางวัลบุคคลดีเด่น ประกาศผลการประกวดภาพถ่าย
09.00 - 09.45
ปาฐกถาพิเศษ
09.00 - 09.45
พัก รับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
09.45 - 10.30
บรรยายพิเศษ
10.30 - 10.45
บรรยายพิเศษ
10.45 - 11.30
พัก – รับประทานอาหารกลางวัน
11.30 - 12.15
การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย
12.15 - 13.00
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
13.00 - 16.40
เสนอผลงานภาคแผ่นภาพ
14.20 - 14.40
ปาฐกถาพิเศษ ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ
16.40 - 18.00
งานเลี้ยงเย็น
18.30 - 19.00
19.00 – 22.00
การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย
09.00 – 10.20
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.20 – 10.40
การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (ต่อ)
10.40 – 12.20
พักรับประทานอาหารกลางวัน
10.20 – 13.00
การบรรยายพิเศษ
13.00 – 14.00
การเสวนา
14.00 – 15.30
พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
15.30 – 16.00
สรุปผลการจัดประชุม มอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น และพิธีปิดการประชุม
16.00 – 17.00
ทัศนศึกษา
08.00 – 18.00

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting induLorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry.

Event Detail

November 22, 2022 4:00 pm
November 24, 2022 6:00 pm
Rama Gardens Hotel

Sponsors

Gold Level
Sliver Sponsors